ไมเกรน (Migraine) คือ อาการปวดศีรษะชนิดหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะเฉพาะคือ จะเกิดอาการปวดด้านใดด้านหนึ่งของศรีษะและมีอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสงและเสียง หรือกระทั่งกลิ่นร่วมด้วย ตามการศึกษา จะสามารถพบผู้ป่วยไมเกรนประมาณ 15-30% ของประชากรทั่วไป
ประเภทของไมเกรน
- ไมเกรนที่มีออร่า
- ไมเกรนไม่มีออร่า
อาการของการเกิดไมเกรนมี 4 ระยะ
1. อาการนำ (Prodome symtoms)
ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติทางสมองแบบทั่วๆไปเกิดขึ้น อาจรู้สึกเพลียหรือเหนื่อย มึนๆศรีษะ หงุดหงิดง่าย มีความทนต่อแสงและเสียงต่ำมีอาการบวมน้ำของร่างกาย ระบบความคิดและการกระทำช้า อาจความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่นรู้สึกอยากรับประทานอาหารมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารรสชาติหวาน หรือในทางตรงกันข้ามอาจมีอาการเบื่ออาหาร ถ่ายอุจจาระบ่อย ซึ่งอาการนำเหล่านี้ส่วนมากมักจะเกิดก่อนประมาณ 3 ชั่วโมง ซึ่งอาการที่เกิดนี้เป็นผลมาจากการสั่งการของสมองส่วนไฮโปทาลามัส
2.อาการเตือน หรือบอกล่วงหน้า (Aura)
1 ใน 3 ของผู้ป่วยไมเกรนจะอยู่ในประเภทไมเกรนแบบมีออร่า ซึ่งเป็นอาการทางระบบประสาท และมักจะมีความผิดปกติเกิดเชื่อมโยงด้านการมองเห็นร่วม เช่น การมองเห็นแสงและสีที่ผิดเพี้ยนปกติไป โดยแสงและ สีที่เห็นมักจะเป็นแบบแสงระยิบระยับวิบวับ หรือเป็นแสงยึกยักซิกแซกไปมา ในบางกรณี อาจพบอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกในผู้ป่วยได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเป็นอยู่ช่วงระยะเวลาประมาณ 30 นาที
3.ระยะมีอาการปวดศีรษะ (Headache)
สำหรับผู้ป่วยไมเกรนนั้น อาการปวดศรีษะส่วนใหญ่จะเป็นแบบปวดข้างเดียว และจะเป็นอาการปวดตุบๆของศรีษะตามการเต้นของชีพจร จะปวดเหมือนมีอะไรมารัดรั้งศรีษะ และมักจะเริ่มปวดแบบช้าๆ ในเวลา 30-60 นาที จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงที่มีอาการปวดมากที่สุด อาการปวดจะสามารถเป็นอยู่อย่างนั้นครึ่งวันหรือทั้งวันเลยก็ได้ หรือผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการปวดศีรษะหรือรู้สึกเจ็บศรีษะตรงที่ปวดได้ถึง 72 ชั่วโมง และ จะค่อยๆหายไป
อาการปวดที่เกิดขึ้นในตำแหน่งต่างๆของศรีษะอาจจะย้ายที่หรือย้าย ข้างได้ หรือจะเป็นทั้ง 2ข้างก็ได้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในการปวดแต่ละครั้ง หรือเกิดขึ้นในครั้งเดียวกันก็ได้ อาการปวดศีรษะมักจะมีอาการมากขึ้นเวลาที่ผู้ป่วยขยับร่างกายรวดเร็วโดยเฉพาะส่วนศีรษะ หรือเวลาออกแรง เดินขึ้นหรือลงบันได ช่วงที่มีอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน แพ้แสงจ้า แพ้เสียงดัง จมูกไวต่อกลิ่น มีอาการหงุดหงิด ปวดบริเวณต้นคอ รู้สึกหวิวๆคล้ายจะเป็นลม ซึ่ง อาการเหล่านี้เกิดจากการขยายตัวของเส้นเลือดในสมอง จากสารสื่อประสาทของร่างกายที่เรียกว่า CGRP ที่หลั่งออกมาจากเซลล์ประสาทของสมองคู่ที่ 5 (Trigeminal nerve) ที่ทำให้เกิดสภาวะการอักเสบในบริเวณเส้นเลือดที่เลี้ยงเยื่อหุ้มสมองของเรา
4. ระยะหาย หรือกลับเข้าสู่สภาวะปกติ (Post drome)
ในระยะนี้ อาการสำคัญที่มักเกิดก็คือ จะมีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สดใส ปวดกล้ามเนื้อ ปัสสาวะมากหรือกระหายน้ำ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงจนถึง 4วัน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 2 วันในผู้ป่วยไมเกรนที่พบ
สาเหตุของการเกิดไมเกรน
- พันธุกรรม ที่มีคนในครอบครัวผู้ป่วย
- สิ่งกระตุ้น เช่น ความเครียด สภาพอากาสร้อน/เย็น เสียง แสง เป็นต้น
- พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อยเกินไป
- ทานอาหารบางประเภทเยอะหรือบ่อยเกิน เช่นของหมักดอง อาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก แฮม เบคอน ที่มีสารไนเตรดและไนไตรต์ (NITRATES AND NITRITES)ซึ่งเป็นสารกันบูดที่ใช้ในการถนอมอาหารนั้น สามารถกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารไตตริกออกไซด์ หรือสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ก่อให้เกิดอาการปวดศรีษะ
- แพ้กลิ่นสิ่งต่างๆ หรือจมูกมีความไวต่อกลิ่นที่มากระตุ้น เช่น ควันบุหรี่ ดอกไม้ น้ำหอม ฝุ่น ควันไฟ เป็นต้น
- แสงจ้า เช่น แสงแดดแรงๆ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์สว่างจ้า หรือเข้าไปอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างทันที
- บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินแต่กระนั้น การงดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทันทีเลยก็จะส่งผลต่อการกำเริบของไมเกรนได้เช่นกัน ดังนั้นควรจะจำกัดการดื่มเครื่องดื่ม เช่น ชาและกาแฟให้พอดีในแต่ละวัน เช่น 200 มิลลิกรัมต่อวันหรือ1ถ้วยกาแฟขนาดเล็ก
- ทานอาหารให้ครบมื้อ และทานให้ตรงเวลาประจำ จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในร่างกายคงที่เสมอ หากทานผิดเวลาบ่อย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการปวดศรีษะได้
การรักษาไมเกรน
- แบบไม่ต้องใช้ยา เช่น ดูแลเรื่องการนอนพักผ่อน นวด ประคบเย็น ฝังเข็ม แต่วิธีเหล่านี้ยังไม่สามารถนับว่าเป็นการรักษาไมเกรนอย่างมาตรฐาน
- วิธีใช้ยา แพทย์ผู้ตรวจจะเป็นผู้ให้ยาแก่ผู้ป่วยหลังจากตรวจและพูดคุยอาการเรียบร้อย เช่น ยาในกลุ่มลดปวด หรือยาในกลุ่มคลายระบบเส้นประสาท หรือเป็นยาฉีดเข้าเส้นหากมีอาการปวดศรีษะขั้นรุนแรงเพื่อระงับอาการ เป็นต้น
การป้องกันการเกิดไมเกรน
- ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นอาการปวด เช่น การนอน ไม่นอนมากหรือน้อยจนเกินไป ไม่เครียด อย่าอยู่ในที่อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป หลีกเลี่ยงอยู่ในที่ที่มีแสงจ้า
- หลีกเลี่ยงการใช้สายตากับการทำงานคอมพิวเตอร์ หรือดูมือถือในระยะเวลานานๆ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายมีระบบเลือดไหลเวียนดี
- เลือกทานอาหารที่สดใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและอาหารที่มีผงชูรสเยอะ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หากรู้สึกว่ามีอาการนำของไมเกรนเกิดขึ้น ควรหาที่นอนพักในห้องที่มืด ไม่มีเสียง มีอากาศเย็น เงียบสงบ อาจหาน้ำแข็งหรือเจลเย็นประคบบริเวณที่ปวดและถ้าหากอาการปวดยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลัง 20-30 นาที ควรพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยและให้การรักษา โดยอาจมีการสั่งจ่ายยาที่เหมาะสมจะเป็นการชี้นำวิธีรักษาโรคไมเกรนที่ดีที่สุด